การมีฐานรากที่มั่นคงแข็งแรง ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้อยู่อาศัย เสาเข็ม คอนกรีตอัดแรง เป็นเสมือนฐานรากที่ถูกตอกฝังลงไปในดิน ให้ความมั่งคงและแข็งแรงก่อนที่จะวางฐานรากบนดินและก่อสร้างเป็นตัวบ้าน อาคาร เพราะเสาเข็มทำหน้าที่รองรับแรงกดของตัวบ้าน อาคารพาณิชย์ทั้งหมดเมื่อเกิดการสั่นสะเทือน เสาเข็มจึงเปรียบเสมือนรากแก้วของต้นไม้ใหญ่ ยิ่งตอกลงไปลึกมากเท่าไรก็ย่อมก่อเกิดความมั่งคงแข็งแรงแก่บ้าน อาคารมากขึ้นเท่านั้น
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง
" เสาเข็ม " คืออะไร ??
หลักการรับแรงของเสาเข็ม
ในการที่เสาเข็มสามารถรับแรง หรือรับน้ำหนักของโครงสร้างด้านบนได้นั้น ประกอบไปด้วย 2 ปัจจัยหลัก
1. แรงฝืดของเสาเข็ม (Friction Pile) : เป็นส่วนที่เสาเข็มจะรับน้ำหนักของโครงสร้างจากพื้นที่ผิวสัมผัสด้านข้างของตัวเสาเข็ม หรือก็คือส่วนผิวด้านข้างของเสาเข็มทั้งสี่ด้านที่สัมผัสระหว่างเสาเข็ม กับดิน
2. แรงต้านปลายเข็ม (End Bearing Pile) : เป็นส่วนที่หัวของเสาเข็มจะต้องรับแรงต้านจากชั้นดินแข็ง เพื่อที่จะช่วยรับน้ำหนัก และป้องกันไม่ให้โครงสร้างที่มีการตอกเสาเข็มมีทรุดลงไปตามน้ำหนักของตัวโครงสร้าง
1. แรงฝืดของเสาเข็ม (Friction Pile) : เป็นส่วนที่เสาเข็มจะรับน้ำหนักของโครงสร้างจากพื้นที่ผิวสัมผัสด้านข้างของตัวเสาเข็ม หรือก็คือส่วนผิวด้านข้างของเสาเข็มทั้งสี่ด้านที่สัมผัสระหว่างเสาเข็ม กับดิน
2. แรงต้านปลายเข็ม (End Bearing Pile) : เป็นส่วนที่หัวของเสาเข็มจะต้องรับแรงต้านจากชั้นดินแข็ง เพื่อที่จะช่วยรับน้ำหนัก และป้องกันไม่ให้โครงสร้างที่มีการตอกเสาเข็มมีทรุดลงไปตามน้ำหนักของตัวโครงสร้าง
" เสาเข็ม " ของ บริษัท ดี.ที.คอนกรีต จำกัด
ทำไมต้อง " เสาเข็ม " ของ ดี.ที.คอนกรีต
บริษัท ดี.ที.คอนกรีต จำกัด ให้บริการจัดส่ง และตอกเสาเข็ม ทั่วจังหวัดเชียงราย โดยสามารถมั่นใจในคุณภาพ ความแข็งแรง และมาตรฐานของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ได้จากการที่บริษัทได้ทำข้อตกลงและเซ็นสัญญาร่วมกับกับ “บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด” ( SCG Endorse ) ที่จะใช้ปูน SCG (ปูนตราช้าง) มาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต 100% ทำให้เราได้รับการดูแล ควบคุมคุณภาพ จาก เอสซีจี เพื่อเป็นเครื่องหมายการันตีให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่า เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงของเรามีคุณภาพตรงตามมาตรฐาน
มั่นใจด้วยสินค้าที่ได้มาตรฐาน มอก.เลขที่ 396-2549 และมีทีมวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาตั้งแต่การวางแผน ขนาดและจำนวนที่จะต้องใช้ , คำนวน Blow Count ตามสภาพดินในพื้นที่จริง พร้อมบริการจัดส่ง และจัดหารถตอกเสาเข็ม ทั่วจังหวัดเชียงราย
นอกจากนี้ในส่วนของการควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานในการผลิต บริษัท ดี.ที.คอนกรีต มีทีมวิศวกร และทีมช่างผลิตเสาเข็ม ที่คอยช่วยดูแลลูกค้าในเรื่องต่างๆ ทั้งเรื่องของสเปคสินค้าเสาเข็มทั้งแบบปกติ และแบบพิเศษ การคัดสรรวัตถุดิบที่ดีที่สุดเพื่อนำมาใช้ในการผลิต ไปจนถึงขั้นตอนการผลิตหล่อเสาเข็มให้แข็งแรงได้มาตรฐาน และการตอกเสาเข็มให้ไม่มีปัญหา หัวเสาเข็มไม่แตก และไม่เอียง เพื่อความปลอดภัยแก่โครงสร้างของบ้าน หรืออาคาร พร้อมดูแลลูกค้าตั้งแต่ต้น จนจบงาน
มั่นใจด้วยสินค้าที่ได้มาตรฐาน มอก.เลขที่ 396-2549 และมีทีมวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาตั้งแต่การวางแผน ขนาดและจำนวนที่จะต้องใช้ , คำนวน Blow Count ตามสภาพดินในพื้นที่จริง พร้อมบริการจัดส่ง และจัดหารถตอกเสาเข็ม ทั่วจังหวัดเชียงราย
นอกจากนี้ในส่วนของการควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานในการผลิต บริษัท ดี.ที.คอนกรีต มีทีมวิศวกร และทีมช่างผลิตเสาเข็ม ที่คอยช่วยดูแลลูกค้าในเรื่องต่างๆ ทั้งเรื่องของสเปคสินค้าเสาเข็มทั้งแบบปกติ และแบบพิเศษ การคัดสรรวัตถุดิบที่ดีที่สุดเพื่อนำมาใช้ในการผลิต ไปจนถึงขั้นตอนการผลิตหล่อเสาเข็มให้แข็งแรงได้มาตรฐาน และการตอกเสาเข็มให้ไม่มีปัญหา หัวเสาเข็มไม่แตก และไม่เอียง เพื่อความปลอดภัยแก่โครงสร้างของบ้าน หรืออาคาร พร้อมดูแลลูกค้าตั้งแต่ต้น จนจบงาน
มั่นใจด้วยคุณภาพ และมาตรฐานจาก SCG
บริษัท ดี.ที.คอนกรีต จำกัด ได้ทำข้อตกลงและเซ็นสัญญาร่วมกับกับ “บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด” ( SCG ENDORSED BRAND) ที่จะใช้ปูน SCG (ปูนตราช้าง) มาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต 100% ทำให้ได้รับการดูแล ควบคุมคุณภาพ จาก เอสซีจี เพื่อเป็นเครื่องหมายการันตีให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่า คอนกรีตผสมเสร็จมีคุณภาพ และมีมาตรฐาน
เสาเข็ม มาตรฐาน มอก.
จากการที่ บริษัท ดี.ที.คอนกรีต จำกัด มุ่งมั่น ทุ่มเท ในการควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานในการผลิตต่างๆ และได้ผ่านการตรวจสอบ จากหน่วยงาน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) จนทำให้ได้รับตรามาตรฐาน มอก.เลขที่ 396-2549 ที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจ และยืนยันในเรื่องของคุณภาพ ความปลอดภัย และได้มาตรฐานของเสาเข็มตอก ดี.ที.คอนกรีต พร้อมจัดส่ง และบริการตอกเสาเข็มทั่วจังหวัด เชียงราย
การควบคุมคุณภาพ และการผลิต
บริษัท ดี.ที.คอนกรีต ได้มีการควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานในการผลิต ตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุุดิบที่มีคุณภาพ เช่น ปูน SCG ,หิน จากแห่งที่ดีที่สุดในเชียงราย ,และทรายที่มาจากท่าทรายของเราเอง และนอกจากนี้ยังมีการควบคุมกระบวนการผลิตตั้งแต่ขั้นตอนการดึงเหล็กลวดอัดแรง PC Wire ดึงด้วยแรงดึง 70 % ของแรงดึงสูงสุดก่อนการเทคอนกรีต ในส่วนของคอนกรีตผสมเสร็จที่ใช้จะผสมคอนกรีตด้วยเครื่องจักร โดยใช้คอนกรีตกำลังอัด 420 กก./ตร.ซม.(แบบลูกบาศก์) เพื่อเพิ่มความเข็งแรงในการรับแรงจากการตอกเสาเข็ม และแรงกดจากโครงสร้างด้านบนให้มีความปลอดภัย อีกทั้งมีการตรวจเช็คคุณภาพสินค้าทั้งก่อน และหลังจากการงัดเสาเข็มขึ้นมา ด้วยทีมวิศวกรที่ดูแลเรื่องคุณภาพ(Quality Control)
ประเภทของเสาเข็ม
ประเภทของเสาเข็มที่ใช้ในงานก่อสร้าง จะมีอยู่ด้วยกัน 4 ประเภทหลักๆ ตามลักษณะของการใช้งาน
1. เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง : เป็นเสาเข็มที่ใช้กันตามงานโครงสร้างทั่วไป เช่น สร้างบ้าน อาคาร หรือตึก เป็นต้น โดยในกรณีที่หน้างานสามารถตอกเสาเข็มได้ตามปกติ ก็สามารถใช้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงในการใช้เป็นโครงสร้างฐานรากในการรับน้ำหนัก เพื่อช่วยรับน้ำหนัก และเพิ่มปลอดภัยให้กับโครงสร้างด้านบนของสิ่งปลูกสร้างได้
2. เสาเข็มไอ : เป็นเสาเข็มที่ใช้กันตามงานโครงสร้างทั่วไป คล้ายกับเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง แต่ด้วยลักษณะของตัวเสาเข็มไอจะถูกออกแบบให้มีพื้นที่ผิวข้างมากกว่า จึงเป็นเสาเข็มที่ช่วยเพิ่มแรงฝืดของเสาเข็ม (Friction Pile) ได้มากยิ่งขึ้น จึงเหมาะสำหรับพื้นที่หน้างานที่มีชั้นดินแข็งที่ค่อนข้างลึก ยากที่จะใช้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงตอกลงไปถึงชั้นดินแข็งนี้ได้
3. เสาเข็มเจาะ : เป็นการทำเสาเข็มที่จะแตกต่างจากเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงที่จะหล่อสำเร็จจากโรงงานแล้วจึงค่อยนำไปตอกที่พื้นที่หน้างาน แต่การทำเสาเข็มเจาะ จะต้องทำในพื้นที่หน้างานจริงโดยใช้เครื่องมือเจาะขุดดินลงไปให้ได้ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางและความลึกของเสาเข็มตามที่กำหนดจาก นั้นจึงจะใส่เหล็กเสริมและเทคอนกรีตลงไปเพื่อหล่อเป็นเสาเข็ม หน้างานที่เหมาะกับการทำเสาเข็มเจาะจะเป็นหน้างานที่อยู่ใกล้กับสิ่งปลูกสร้าง หรือบ้าน เพราะการทำเสาเข็มเจาะจะช่วยลดแรงกระแทก และการสั่นสะเทือนของพื้นที่หน้างานขณะมีการตอกเสาเข็มของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง
4. เสาเข็มไมโครไพล์ : เป็นเสาเข็มขนาดเล็กที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้ในงานต่อเติมต่างๆ หรืองานก่อสร้างฐานรากใหม่ เช่น ต่อเติมอาคารจอดรถ ต่อเติมครัว ต่อเติมห้องอเนกประสงค์ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งเสาเข็มไมโครไพล์จะช่วยเสริมสร้างความแข็งเเรงให้กับโครงสร้าง และแก้ปัญหาการทรุดตัวของโครงสร้างโดยเฉพาะ นอกจากนี้ในส่วนของการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ก็สามารถเข้าไปทำการตอกได้เกือบทุกสภาพพื้นที่เเม้ในที่แคบ สามารถตอกชิดกับกำเเพง หรือติดกระจกได้โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย และสุดท้าย ยังสร้างมลพิษทางเสียงหรือสิ่งสกปรก(กองดิน)น้อยกว่าเมื่อเทียบกับการใช้เข็มเจาะเเล้วเทคอนกรีต
1. เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง : เป็นเสาเข็มที่ใช้กันตามงานโครงสร้างทั่วไป เช่น สร้างบ้าน อาคาร หรือตึก เป็นต้น โดยในกรณีที่หน้างานสามารถตอกเสาเข็มได้ตามปกติ ก็สามารถใช้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงในการใช้เป็นโครงสร้างฐานรากในการรับน้ำหนัก เพื่อช่วยรับน้ำหนัก และเพิ่มปลอดภัยให้กับโครงสร้างด้านบนของสิ่งปลูกสร้างได้
2. เสาเข็มไอ : เป็นเสาเข็มที่ใช้กันตามงานโครงสร้างทั่วไป คล้ายกับเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง แต่ด้วยลักษณะของตัวเสาเข็มไอจะถูกออกแบบให้มีพื้นที่ผิวข้างมากกว่า จึงเป็นเสาเข็มที่ช่วยเพิ่มแรงฝืดของเสาเข็ม (Friction Pile) ได้มากยิ่งขึ้น จึงเหมาะสำหรับพื้นที่หน้างานที่มีชั้นดินแข็งที่ค่อนข้างลึก ยากที่จะใช้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงตอกลงไปถึงชั้นดินแข็งนี้ได้
3. เสาเข็มเจาะ : เป็นการทำเสาเข็มที่จะแตกต่างจากเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงที่จะหล่อสำเร็จจากโรงงานแล้วจึงค่อยนำไปตอกที่พื้นที่หน้างาน แต่การทำเสาเข็มเจาะ จะต้องทำในพื้นที่หน้างานจริงโดยใช้เครื่องมือเจาะขุดดินลงไปให้ได้ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางและความลึกของเสาเข็มตามที่กำหนดจาก นั้นจึงจะใส่เหล็กเสริมและเทคอนกรีตลงไปเพื่อหล่อเป็นเสาเข็ม หน้างานที่เหมาะกับการทำเสาเข็มเจาะจะเป็นหน้างานที่อยู่ใกล้กับสิ่งปลูกสร้าง หรือบ้าน เพราะการทำเสาเข็มเจาะจะช่วยลดแรงกระแทก และการสั่นสะเทือนของพื้นที่หน้างานขณะมีการตอกเสาเข็มของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง
4. เสาเข็มไมโครไพล์ : เป็นเสาเข็มขนาดเล็กที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้ในงานต่อเติมต่างๆ หรืองานก่อสร้างฐานรากใหม่ เช่น ต่อเติมอาคารจอดรถ ต่อเติมครัว ต่อเติมห้องอเนกประสงค์ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งเสาเข็มไมโครไพล์จะช่วยเสริมสร้างความแข็งเเรงให้กับโครงสร้าง และแก้ปัญหาการทรุดตัวของโครงสร้างโดยเฉพาะ นอกจากนี้ในส่วนของการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ก็สามารถเข้าไปทำการตอกได้เกือบทุกสภาพพื้นที่เเม้ในที่แคบ สามารถตอกชิดกับกำเเพง หรือติดกระจกได้โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย และสุดท้าย ยังสร้างมลพิษทางเสียงหรือสิ่งสกปรก(กองดิน)น้อยกว่าเมื่อเทียบกับการใช้เข็มเจาะเเล้วเทคอนกรีต
ข้อมูลพื้นฐาน
- ได้รับมาตรฐาน มอก.เลขที่ 396-2549 : เสาเข็ม คอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ
- ให้ความมั่งคงและแข็งแรงแก่สิ่งปลูกสร้าง เสมือนเป็นขาที่ยืนอยู่บนชั้นหินแข็งใต้ดินเพื่อรับน้ำหนักสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด
- เรามีทีมวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาตั้งแต่การวางแผน ขนาดและจำนวนเสาเข็มที่จะต้องใช้ , คำนวน Blow Count ตามสภาพดินในพื้นที่จริง
- มั่นใจด้วยมาตรฐาน และคุณภาพ จากการดูแลและควบคุมด้วยทีมวิศวกรของทางองค์กร
- จัดส่งสินค้าได้รวดเร็ว ด้วยกำลังการผลิตถึงสองโรงงาน
- เสาเข็มตอก บริการจัดส่ง และตอกเสาเข็มทั่วจังหวัด เชียงราย
- ดูแลตั้งแต่เริ่มต้น จนจบงาน
ข้อมูลทางเทคนิค
- มีหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาดกว้าง 15 ,18 , 22 , 26 , 30 ซม.
- มีความยาวตั้งแต่ 1 – 15 เมตร (ความยาวสูงสุดของเสาเข็มขึ้นอยู่กับขนาดหน้าตัด)
- ใช้คอนกรีตกำลังอัด 420 กก./ตร.ซม. (ทดสอบด้วยก้อนตัวอย่างแบบลูกบาศก์) หรือ 350 กก./ตร.ม. (ทดสอบด้วยก้อนตัวอย่างแบบทรงกระบอก)
- ใช้เหล็กลวดอัดแรงถูกดึงด้วยแรงดึง 70 % ของแรงดึงสูงสุดก่อนการเทคอนกรีต
- มีความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยตั้งแต่ 0 – 50 ตัน (ขึ้นอยู่กับขนาดหน้าตัดและความยาวของเสาเข็ม)
ขั้นตอนการเลือกขนาด และความยาวเสาเข็ม
ในส่วนของขั้นตอนแรกสุดก่อนจะมีการสร้างบ้าน หรืออาคาร นั้นจำเป็นจะต้องมีการลงเสาเข็มเพื่อเข้ามาช่วยรับน้ำหนัก และเพิ่มความปลอดภัยให้แก่โครงสร้าง โดยขั้นตอนแรกสุดในการเลือกขนาด และความยาวของเสาเข็มตอก จะสามารถทำได้อยู่ 3 วิธี คือ
1. ใช้เครื่องมือวัดค่าของสภาพดิน : ทางทีมวิศวกร หรือช่างหน้างาน จะต้องใช้เครื่องมือวัดค่าของสภาพดิน เพื่อที่จะได้ทราบถึงขนาด และความยาวของเสาเข็มที่จะต้องนำมาใช้ในงานก่อสร้าง เพื่อให้เหมาะกับสภาพดิน และการรับแรงกด
2. เลือกจากสถานที่ใกล้เคียง : กรณีที่ไม่ทราบความยาว และขนาดของเสาเข็มแน่ชัด (อาจะในกรณีไม่ได้มีเครื่องมือในการวัดค่าของสภาพดิน) ก็จะมีวิธีช่วยให้ทราบลักษณะของเสาเข็มที่จะต้องใช้คร่าวๆ คือ ทราบจากความยาวหรือสภาพดินของสถานที่ใกล้เคียงกัน โดยสามารถสอบถามจากทีมขาย หรือทีมวิศวกรขององค์กร ที่เคยได้ทำการคำนวณ หรือส่งงานสถานที่ใกล้เคียงเหล่านี้มาก่อนแล้ว ก็สามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาประกอบการตัดสินใจได้ เพราะสภาพของดิน หรือความลึกของชั้นดินแข็ง ก็มักจะมีลักษณะใกล้เคียงกัน ในบางพื้นที่ที่อยู่บริเวณใกล้ๆกัน
3. ลองนำเสาเข็มมาตอก : วิธีสุดท้ายจะเป็นการที่ช่างหน้างานไม่ได้ทำการวัด และคำนวณสภาพดิน (อาจะในกรณีไม่ได้มีเครื่องมือในการวัดค่าของสภาพดิน) แต่จะเลือกขนาดเสาเข็มจากการนำเสาเข็มไปทดลองตอกก่อนจะทำการตอกเสาเข็มตามจุดต่างๆจริง เช่น ช่างหน้างานคิดว่าน่าจะตอกเสาเข็มไปแล้วจะเจอชั้นดินแข็งสัก 10 เมตร ก็อาจจะลองสั่งเสาเข็มที่มีความยาวมากกว่านั้นเผื่อเข้าไปอีกเป็น 12 เมตร เพื่อนำมาทดลองตอกดูว่ากว่าเสาเข็มจะตอกเจอชั้นดินแข็งนั้นจะเป็นทั้งหมดกี่เมตร แล้วสุดท้ายจึงนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณ เพื่อสั่งเสาเข็มเอามาใช้ในการตอกจริง
1. ใช้เครื่องมือวัดค่าของสภาพดิน : ทางทีมวิศวกร หรือช่างหน้างาน จะต้องใช้เครื่องมือวัดค่าของสภาพดิน เพื่อที่จะได้ทราบถึงขนาด และความยาวของเสาเข็มที่จะต้องนำมาใช้ในงานก่อสร้าง เพื่อให้เหมาะกับสภาพดิน และการรับแรงกด
2. เลือกจากสถานที่ใกล้เคียง : กรณีที่ไม่ทราบความยาว และขนาดของเสาเข็มแน่ชัด (อาจะในกรณีไม่ได้มีเครื่องมือในการวัดค่าของสภาพดิน) ก็จะมีวิธีช่วยให้ทราบลักษณะของเสาเข็มที่จะต้องใช้คร่าวๆ คือ ทราบจากความยาวหรือสภาพดินของสถานที่ใกล้เคียงกัน โดยสามารถสอบถามจากทีมขาย หรือทีมวิศวกรขององค์กร ที่เคยได้ทำการคำนวณ หรือส่งงานสถานที่ใกล้เคียงเหล่านี้มาก่อนแล้ว ก็สามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาประกอบการตัดสินใจได้ เพราะสภาพของดิน หรือความลึกของชั้นดินแข็ง ก็มักจะมีลักษณะใกล้เคียงกัน ในบางพื้นที่ที่อยู่บริเวณใกล้ๆกัน
3. ลองนำเสาเข็มมาตอก : วิธีสุดท้ายจะเป็นการที่ช่างหน้างานไม่ได้ทำการวัด และคำนวณสภาพดิน (อาจะในกรณีไม่ได้มีเครื่องมือในการวัดค่าของสภาพดิน) แต่จะเลือกขนาดเสาเข็มจากการนำเสาเข็มไปทดลองตอกก่อนจะทำการตอกเสาเข็มตามจุดต่างๆจริง เช่น ช่างหน้างานคิดว่าน่าจะตอกเสาเข็มไปแล้วจะเจอชั้นดินแข็งสัก 10 เมตร ก็อาจจะลองสั่งเสาเข็มที่มีความยาวมากกว่านั้นเผื่อเข้าไปอีกเป็น 12 เมตร เพื่อนำมาทดลองตอกดูว่ากว่าเสาเข็มจะตอกเจอชั้นดินแข็งนั้นจะเป็นทั้งหมดกี่เมตร แล้วสุดท้ายจึงนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณ เพื่อสั่งเสาเข็มเอามาใช้ในการตอกจริง
สินค้าแนะนำ
สามารถมั่นใจในคุณภาพด้วยมาตรฐาน มอก.เลขที่ 828-2546 และด้วยกำลังการผลิต แผ่นพื้นสำเร็จรูป เฉลี่ย 600 ตร.ม./วัน พร้อมทั้งทีมช่างผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยวางแผน คำนวณจำนวนที่ต้องใช้ติดตั้งจากพื้นที่จริง
กำแพงกันดินจะคอยต้านทานแรงดันทางด้านข้างของมวลดิน หรือ ของไหล จากระดับดินที่ต่างกัน ซึ่งจะทำให้ชั้นดินที่ต่างระดับกันคงตัวอยู่ได้อย่างปลอดภัย พร้อมจัดส่ง และให้คำปรึกษาทั่วจังหวัดเชียงราย พะเยา
มีทีมช่างตอกเสาเข็มที่มีความชำนาญ และมีประสบการณ์ในการตอกเสาเข็มคอนกรีต นอกจากนี้ยังใช้รถตอกเสาเข็มที่เป็นเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ซึ่งจะช่วยให้งานตอกเสาเข็มเป็นไปอย่างราบรื่น