ตอกเสาเข็ม

" ตอกเสาเข็ม " คืออะไร ??

คือการที่ใช้รถปั้นจั่นตอกเสาเข็มคอนกรีตลงไปในดินหรือพื้นของสิ่งปลูกสร้างจนได้ความลึกที่ต้องการ(Blow Count) เป็นวิธีการที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะวิธีการไม่ซับซ้อน ค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก และสามารถมั่นใจได้ในเรื่องความแข็งแรงของโครงสร้างฐานราก แต่ในปัจจุบันที่มีอาคารและสิ่งปลูกสร้างเพิ่มมากขึ้น การที่จะใช้วิธีตอกเสาเข็มอาจสร้างความเสียหายและรบกวนสิ่งปลูกสร้างที่อยู่รอบข้าง ดังนั้นก่อนการจะตอกเสาเข็มก็มักจำเป็นจะต้องมีการขออนุญาตเจ้าของสิ่งปลูกสร้างรอบๆที่อยู่บริเวณใกล้ๆตำแหน่งที่จะมีการตอก และเลือกช่างผู้รับเหมาหรือบริษัทรถตอกที่มีความชำนาญ ก็จะสามารถป้องกันปัญหาและความเสียหายที่อาจตามมาในภายหลังได้ ซึ่งการควบคุมการตอกควรจะต้องกระทำโดยวิศวกรผู้รับผิดชอบโครงการนั้นจึงจะเหมาะสมเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย

บริการ " ตอกเสาเข็ม " ของ บริษัท ดี.ที.คอนกรีต จำกัด

บริการรถตอกเสาเข็ม และเสาเข็มคอนกรีต " ครบ จบในที่เดียว "

จากปัญหาที่ลูกค้าหลายท่านพบเจอในการจะก่อสร้างบ้าน หรืออาคาร ในส่วนของขั้นตอนแรกสุด คือการต้องตอกเสาเข็มนั้น หลายครั้งที่อาจจะต้องวุ่นวายกับการประสานงานกับหลายๆบริษัท ทั้งโรงงานผลิตเสาเข็ม และบริษัทรับตอกเสาเข็ม แต่จะดีกว่าไหม? ถ้า บริษัท ดี.ที.คอนกรีต เข้ามามีส่วนร่วมและคอยประสานงานให้ลูกค้าเกิดความสะดวกรวดเร็ว และง่ายมากยิ่งขึ้น ตั้งแต่ขั้นตอนแรกสุดในการให้คำปรึกษาขนาด ความยาว และการบรรทุกที่ปลอดภัยของเสาเข็ม ไปจนถึงบริการตอกเสาเข็มที่พื้นที่หน้างาน จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม บริษัท ดี.ที.คอนกรีต จำกัด มีให้บริการเสริมรถตอกเสาเข็ม ทั่วจังหวัดเชียงราย

บริการตอกเสาเข็มด้วยทีมช่างคุณภาพ

บริษัท ดี.ที.คอนกรีต จำกัด ได้มีทีมช่างตอกเสาเข็มที่มีความชำนาญ และมีประสบการณ์ในการตอกเสาเข็มคอนกรีต นอกจากนี้รถตอกเสาเข็มที่องค์กรได้นำมาใช้บริการลูกค้านั้น เป็นรถตอกเสาเข็มที่มีความแข็งแรง คล่องตัวสูง มีพละกำลังในการตอกค่อนข้างมาก และใช้เทคโนโลยีรุ่นใหม่ ซึ่งจะช่วยให้งานตอกเสาเข็มเป็นไปอย่างราบรื่น และลดปัญหาความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในพื้นที่หน้างาน

การให้บริการ " ตอกเสาเข็ม " ของ ดี.ที.คอนกรีต

ทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญจะเข้าไปตรวจสอบหน้างาน เพื่อวางแผนการเอารถ เข้า-ออก โครงการ และนำแบบก่อสร้างของลูกค้ามาวางแผนร่วมกันเพื่อให้ รถปั้นจั่น สามารถตอกเสาเข็มได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว โดยให้ทีมวิศวกรคำนวณความสามารถในการรับน้ำหนักของเสาเข็ม บนหลักการที่มีทดสอบการเจาะสำรวจดินแล้ว แต่ถ้ายังไม่มีการเจาะสำรวจดินจำเป็นต้องมีการสั่งเสาเข็มเพื่อตอกทดสอบ Blow Count และคำนวณค่า Blow Count เพื่อให้เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักได้ตามที่คำนวณไว้ หลังจากนั้นวางแผนการผลิตและเริ่มผลิตเสาเข็ม เพื่อนัดหมายคิวรถปั้นจั่น เมื่อเสาเข็มถูกส่งไปตามจุดต่าง ๆ หน้างานก่อนวันนัดหมาย เพื่อเตรียมความพร้อมในการตอกเสาเข็ม รถปั้นจั่นเข้าถึงหน้างานตามวันนัดหมาย และ ตอกเสาเข็ม ตามแผนที่วางไว้ จนกระทั่งเสาเข็มถูกตอกจนครบตามแบบก่อสร้าง พร้อมส่งมอบงานให้แก่ลูกค้าดำเนินการในการก่อสร้างในส่วนถัด ๆ ไป

ขั้นตอนการ " ตอกเสาเข็ม "

การเตรียมตัว ก่อนตอกเสาเข็ม

  • 1. เนื่องจาก รถขนส่งเสาเข็ม และรถปั้นจั่น เป็นรถที่มีน้ำหนักมาก การเข้าโครงการที่ไม่มีการเตรียมทางเข้าและเส้นทางการเดินรถที่ดีพอ อาจจะทำให้เกิดความล่าช้าจากการที่รถเข้าไปติดโคลนดินที่หน้างาน ทั้งเสียเวลาและสร้างความเสียหายแก่รถของทางบริษัท
  • 2. เมื่อเตรียมทางเดินรถในพื้นที่โครงการแล้ว ก็เป็นขั้นตอนของการวางหมุด และผังโครงการ เพื่อระบุจุดที่จะทำการตอกเสาเข็ม
  • 3. ในฤดูฝน จะมีปัญหาอย่างมากในการที่รถไม่สามารถเข้าถึงหน้างานเพื่อวางเสาเข็ม หรือ ตอกเสาเข็ม จึงควรวางแผนเตรียมตัวเพื่อตอกเสาเข็มในช่วงก่อนฤดูฝนจะดีที่สุด
  • 4. การเร่งผลผลิตเสาเข็ม อาจไม่ใช่ความคิดที่ดี เพราะคอนกรีตจำเป็นต้องใช้เวลาในการพัฒนากำลังตัวเอง ถ้าเกิดต้องการใช้เสาเข็มที่ผลิตสดใหม่ในเวลาอันสั้น อาจจะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มจากการปรับส่วนผสมเพื่อให้เสาเข็มสามารถพัฒนากำลัง ในเวลาอันสั้นได้ทัน

โบลว์เคาท์ ( Blow Count ) กับการตอกเสาเข็ม คืออะไร ?

โบลว์เคาท์ (Blow Count) คือ จำนวนครั้งการตอกเสาเข็มที่ทำให้เสาเข็มจมลงไปในดิน 1 ฟุต หรือ 30 เซนติเมตร ซึ่งเป็นวิธีการประเมินสภาพ การรับน้ำหนักเสาเข็มแบบ DYNAMIC FORMULA (เช่น Hiley , Danish , Janbu , Gate Formula) ซึ่งโดยส่วนมากจะประเมินสภาพ การรับน้ำหนักเสาเข็ม ด้วยการคำนวณพลังงานปล่อยลูกตุ้มอย่างอิสระเพื่อตอกเสาเข็มลงสู่ดิน ในการที่เราจะทราบค่า Blow Count จำเป็นต้องผ่านการคำนวณจากวิศวกร โดยเราต้องทราบข้อมูลเบื้องต้น คือ หน้าตัดเสาเข็ม , ความยาวเสาเข็ม , น้ำหนักบรรทุก และน้ำหนักตุ้มที่จะทำการตอกเสาเข็ม และหากการตอกเสาเข็มจริง ไม่ได้ Blow Count ตามที่คำนวณไว้ ต้องทำอย่างไร? เบื้องต้นจะนำค่าจำนวนครั้งการตอกล่าสุดมาคำนวณว่า การรับน้ำหนักของเสาเข็มต้นนั้นอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่เพื่อคำนวณฐานรากใหม่ ณ จุดนั้น จากนั้นจะทำการวางแผนเพื่อปรับขนาดเสาเข็ม (หน้าตัด หรือความยาว) ให้การรับน้ำหนักตามที่กำหนดไว้ในแบบก่อสร้างอีกครั้ง

กระบวนการตอกเสาเข็ม

1. วางแผนเส้นทางตอกว่าจะเดินรถตอกยังไง ให้ตอกได้ครบ และทำงานไม่ลำบาก
2. วางหมุดตำแหน่งเสาเข็มให้เรียบร้อย และตรวจเช็กระยะอีกรอบ
3. เช็กระยะซ้าย-ขวา หน้า-หลังของเข็ม (เทียบกับหมุดข้างๆ) ก่อนกดลงตอก
4. ตอกให้จมลงนิดนึง แล้วเช็กว่าเสาเข็มตั้งฉากกับพื้นโลกไหม จากนั้นเช็กตำแหน่งซ้ายขวา หน้าหลังอีกรอบ
5. ตรวจน้ำหนักตุ้ม (เอาไปชั่งที่ตาชั่งโรงงาน) ดูใบคำนวณว่าให้ยกตุ้มสูงกี่เซนติเมตร
6. ทำเครื่องหมายทุกๆ 30 เซนติเมตรจากหัวเสาเข็ม 10 ช่วง
7. ทำการตอกแล้วนับว่า ตอกกี่ครั้งเสาจะยุบ 30 เซน ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้โบเคาท์ -> last ten blow (ตอก 10 ครั้งแล้ววัดระยะจม เทียบกับใบคำนว )
8. ตรวจว่าตำแหน่ง ซ้ายขวา หน้าหลัง ของเข็มไม่เลื่อนใช่ไหม

เสาเข็มตอก กับ เสาเข็มเจาะ เลือกอย่างไหนดี ?

ประเภทของเสาเข็มที่ใช้ในงานก่อสร้าง จะมีอยู่ด้วยกัน 4 ประเภทหลักๆ ตามลักษณะของการใช้งาน
1. เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง : เป็นเสาเข็มที่ใช้กันตามงานโครงสร้างทั่วไป เช่น สร้างบ้าน อาคาร หรือตึก เป็นต้น โดยในกรณีที่หน้างานสามารถตอกเสาเข็มได้ตามปกติ ก็สามารถใช้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงในการใช้เป็นโครงสร้างฐานรากในการรับน้ำหนัก เพื่อช่วยรับน้ำหนัก และเพิ่มปลอดภัยให้กับโครงสร้างด้านบนของสิ่งปลูกสร้างได้

2. เสาเข็มไอ : เป็นเสาเข็มที่ใช้กันตามงานโครงสร้างทั่วไป คล้ายกับเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง แต่ด้วยลักษณะของตัวเสาเข็มไอจะถูกออกแบบให้มีพื้นที่ผิวข้างมากกว่า จึงเป็นเสาเข็มที่ช่วยเพิ่มแรงฝืดของเสาเข็ม (Friction Pile) ได้มากยิ่งขึ้น จึงเหมาะสำหรับพื้นที่หน้างานที่มีชั้นดินแข็งที่ค่อนข้างลึก ยากที่จะใช้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงตอกลงไปถึงชั้นดินแข็งนี้ได้

3. เสาเข็มเจาะ : เป็นการทำเสาเข็มที่จะแตกต่างจากเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงที่จะหล่อสำเร็จจากโรงงานแล้วจึงค่อยนำไปตอกที่พื้นที่หน้างาน แต่การทำเสาเข็มเจาะ จะต้องทำในพื้นที่หน้างานจริงโดยใช้เครื่องมือเจาะขุดดินลงไปให้ได้ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางและความลึกของเสาเข็มตามที่กำหนดจาก นั้นจึงจะใส่เหล็กเสริมและเทคอนกรีตลงไปเพื่อหล่อเป็นเสาเข็ม หน้างานที่เหมาะกับการทำเสาเข็มเจาะจะเป็นหน้างานที่อยู่ใกล้กับสิ่งปลูกสร้าง หรือบ้าน เพราะการทำเสาเข็มเจาะจะช่วยลดแรงกระแทก และการสั่นสะเทือนของพื้นที่หน้างานขณะมีการตอกเสาเข็มของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง

4. เสาเข็มไมโครไพล์ : เป็นเสาเข็มขนาดเล็กที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้ในงานต่อเติมต่างๆ หรืองานก่อสร้างฐานรากใหม่ เช่น ต่อเติมอาคารจอดรถ ต่อเติมครัว ต่อเติมห้องอเนกประสงค์ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งเสาเข็มไมโครไพล์จะช่วยเสริมสร้างความแข็งเเรงให้กับโครงสร้าง และแก้ปัญหาการทรุดตัวของโครงสร้างโดยเฉพาะ นอกจากนี้ในส่วนของการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ก็สามารถเข้าไปทำการตอกได้เกือบทุกสภาพพื้นที่เเม้ในที่แคบ สามารถตอกชิดกับกำเเพง หรือติดกระจกได้โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย และสุดท้าย ยังสร้างมลพิษทางเสียงหรือสิ่งสกปรก(กองดิน)น้อยกว่าเมื่อเทียบกับการใช้เข็มเจาะเเล้วเทคอนกรีต

เสาเข็มตอก (Driven Pile)

เสาเข็มตอก (ก็จะประกอบไปด้วย เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ,เสาเข็มไอ ,เสาเข็มไมโครไพล์) โดยมีข้อดีหลักๆ คือ ตัวเสาเข็มถูกผลิตจากโรงงาน มีการควบคุมคุณภาพและใช้เทคโนโลยีของลวดอัดแรง เพื่อให้สินค้าที่ได้มีคุณภาพคงที่และมีความแข็งแรง ทำให้สามารถเชื่อมั่นได้ว่า ถ้านำเสาเข็มตอกไปใช้หน้างานจริง จะสามารถคำนวณการรับน้ำหนักได้เที่ยงตรงมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามเสาเข็มตอกก็ยังมีจุดอ่อนอยู่บ้าง ในกรณีที่เราจะทำการตอกเสาเข็มในพื้นที่ที่มีบ้านพักอาศัยหรืออาคารอยู่บริเวณใกล้ๆ พลังงานจากการตอกเสาเข็มจะส่งผ่านดินไปยังพื้นที่โดยรอบ ทำให้สร้างความก่อกวนหรือความเสียหายให้บริเวณโดยรอบได้ จึงเป็นเหตุผลว่าในบางทีมีความจำเป็นต้องใช้เสาเข็มเจาะในการทำงาน

เสาเข็มเจาะ (Bored Pile)

เสาเข็มเจาะ มีข้อดีในการ ลดแรงสั่นสะเทือนให้พื้นที่โดยรอบจากกการตอกเสาเข็ม โดยมีทั้งเสาเข็มเจาะแบบแห้ง และเสาเข็มเจาะแบบเปียก แต่ปกติในงานทั่วไป มักจะทำเป็นเสาเข็มเจาะแบบแห้งเพราะทำงานง่าย การเตรียมอุปกรณ์ไม่ยุ่งยาก โดยเข็มเริ่มจากการนำท่อปลอกเหล็กตอกลงไปในดินและทำการขุดดินออกมา จากนั้นนำเหล็กที่มัดไว้ตามแบบใส่ลงหลุมและเทคอนกรีตลงไปในหลุมก่อนจะทยอยนำปลอกเหล็กขึ้นมาถือเป็นอันเสร็จสิ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าจากการทำเสาเข็มเจาะอาจจะเกิดความไม่แน่นอนดังนี้ หลุมที่เจาะลงไปในดินมักจะมีน้ำใต้ดินถ้าหากไม่สูบออกหรือถ้าสูบออกแล้ว ความชื้นในดินจะก่อกวนคอนกรีตที่เทลงในหลุมให้เจือจางลงส่งผลต่อคุณเสาเข็มเจาะ หรือระหว่างการดึงท่อปลอกเหล็กออก อาจจะเกิดจากพังของหน้าดินในหลุมซึ่งเราจะรู้ตัวอีกทีเมื่อมีการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มเจาะด้วยวิธี Seismic Test จึงควรตรวจสอบให้ดีว่าวิธีไหนที่เหมาะสมกับหน้างานก่อสร้างของเรา

สินค้าแนะนำ

บริการติดตั้งกำแพงกันดิน
กำแพงกันดิน (Retaining Wall) ถือเป็นรูปแบบโครงสร้างที่ได้รับการออกแบบให้มีความทนทานมากเป็นพิเศษ โดยสร้างขึ้นเพื่อต้านทานแรงดันทางด้านข้างของมวลดิน หรือ ของไหล

บริการติดตั้งรั้วสำเร็จ
โดยรั้วสำเร็จรูปเป็นสินค้านวัตกรรมใหม่ ที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาให้กับช่างผู้รับเหมา และ เจ้าของบ้าน โดยจะเป็นรั้วบ้านที่ถูกหล่อสำเร็จตั้งแต่ในโรงงาน


ติดตั้งคอนกรีตบล็อก
รั้วคอนกรีตบล็อก เป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากมีราคาไม่แพง และมีอายุการใช้งานนาน ไม่จำเป็นต้องดูแลมากนัก ทั้งนี้เพราะอิฐบล็อกทนต่อ สภาพดินฟ้าอากาศ และสารเคมีต่างๆได้ดี