เป็นกำแพงที่คอยต้านทานแรงดันทางด้านข้างของมวลดิน หรือ ของไหล จากระดับดินที่ต่างกัน ซึ่งจะทำให้ชั้นดินที่ต่างระดับกันคงตัวอยู่ได้อย่างปลอดภัย โดยถ้าบางพื้นที่ หรือหน้างานไม่ได้ทำ กำแพงกันดิน ไว้ อาจส่งผลให้เกิดการเคลื่อนพังทลายของดิน ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายแก่โครงสร้างตามมาในภายหลังได้ โดยหน้างานที่จะสร้างกำแพงกันดินก็มักจะเป็นหน้างานที่เป็นพื้นที่ต่างระดับ ที่ดิน หรืองานก่อสร้างที่ติดกับทางน้ำ หรือสำหรับการก่อสร้างบริเวณแนวภูเขาที่มีความลาดชัน ซึ่งโดยส่วนมากก็จะเป็นพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ต่างระดับ ไม่ใช่พื้นที่เรียบที่เสมอกันตลอดทั้งพื้นที่
กำแพงกันดิน
" กำแพงกันดิน " คืออะไร ??
หลักการรับแรง
โดยปกติแล้วหลังจากทำการติดตั้งกำแพงกันดิน ก็มักจะถมดินในส่วนที่เป็นช่องว่างระหว่างพื้นดินต่างระดับ กับตัวรั้วกำแพงกันดิน ซึ่งภายหลังจากการถมช่องว่างให้เต็มสิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ไม่ว่าจะในสภาวะสภาพอากาสปกติ หรือในเวลาที่ฝนตกก็ตาม มวลของดินที่ถูกกันไว้นั้นจะมีแรงดันพลักไปที่กำแพงกันดิน โดยหน้าที่ของกำแพงกันดินก็จะรับแรงพลักของมวลดินั้นมา ซึ่งพื้นที่ส่วนมากที่จะต้องรับแรงดันก็คือพื้นที่ของแผ่นผนังกันดินที่ถูกเสียบอยู่ หลังจากที่แรงดันของมวลดินมากระทำกับแผ่น แรงก็จะถูกถ่ายเทไปตามลวดที่อยู่ในแผ่น(ในการผลิตแผ่นผนังกันดินนั้น ไม่ว่าจะเป็นผนังสำเร็จ หรือแผ่นพื้นก็ตาม จะมีการใช้ลวด PC Wire ดึงด้วยแรงดึง 70 % ของแรงดึงสูงสุดก่อนการเทคอนกรีต ในส่วนของคอนกรีตผสมเสร็จที่ใช้จะผสมคอนกรีตด้วยเครื่องจักร โดยใช้คอนกรีตกำลังอัด 420 กก./ตร.ซม.(แบบลูกบาศก์) เพื่อเพิ่มความเข็งแรง) ซึ่งหลังจากการถ่ายเทแรงดันไปตามลวดในแผ่นกันดิน แรงก็จะถูกถ่ายเทไปต่อยังเสาเข็มไอต่อ เพื่อทำหน้าที่คอยประคอง และช่วยต้านแรงของมวลดินที่ดันมายังกำแพงกันดิน ไม่ให้ดินในพื้นที่ต่างระดับพังทลายกำแพงกันดินลงมาได้ ส่งผลให้ทั้งโครงสร้างที่อยู่ในบริเวณที่กันปลอดภัย ไม่เกิดความเสียหาย และไม่เกิดปัญหาดินสไลด์ตามมาในอนาคต

" กำแพงกันดิน " ของ บริษัท ดี.ที.คอนกรีต จำกัด
ทำไมต้อง "กำแพงกันดิน" ของ ดี.ที.คอนกรีต
เป็นกำแพงที่เกิดจากการประกอบเข้าด้วยกันของเสาเข็มไอ และแผ่นกันดินสำเร็จรูป หรือแผ่นพื้นสำเร็จรูปนำมาเสียบ โดยกำแพงจะคอยต้านทานแรงดันทางด้านข้างของมวลดิน หรือ ของไหล จากระดับดินที่ต่างกัน ซึ่งจะทำให้ชั้นดินที่ต่างระดับกันคงตัวอยู่ได้อย่างปลอดภัย โดยถ้าบางพื้นที่ หรือหน้างานไม่ได้ทำ กำแพงกันดิน ไว้ อาจส่งผลให้เกิดการเคลื่อนพังทลายของดิน ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายตามมาในภายหลังได้ บริษัท ดี.ที.คอนกรีต จำกัด สามารถให้คำแนะนำการทำกำแพงกันดิน พร้อมบริการจัดส่ง และติดตั้งกำแพงกันดิน ทั่วจังหวัดเชียงราย
มั่นใจด้วยคุณภาพ และมาตรฐานจาก SCG
ทางบริษัทได้ทำข้อตกลงและเซ็นสัญญาร่วมกับกับ “บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด” ( SCG ENDORSED BRAND) ที่จะใช้ปูน SCG (ปูนตราช้าง) มาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต 100% ทำให้ได้รับการดูแล ควบคุมคุณภาพ จาก เอสซีจี เพื่อเป็นเครื่องหมายการันตีให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่า คอนกรีตผสมเสร็จมีคุณภาพ และมีมาตรฐาน
การควบคุมคุณภาพ และการผลิต
บริษัท ดี.ที.คอนกรีต จำกัด ได้มีการควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานในการผลิต ตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพ เช่น ปูน SCG ,หิน จากแห่งที่ดีที่สุดในเชียงราย ,และทรายที่มาจากท่าทรายของเราเอง และนอกจากนี้ยังมีการควบคุมกระบวนการผลิตตั้งแต่ขั้นตอนการดึงเหล็กลวดอัดแรง PC Wire ดึงด้วยแรงดึง 70 % ของแรงดึงสูงสุดก่อนการเทคอนกรีต ในส่วนของคอนกรีตผสมเสร็จที่ใช้จะผสมคอนกรีตด้วยเครื่องจักร โดยใช้คอนกรีตกำลังอัด 420 กก./ตร.ซม.(แบบลูกบาศก์) เพื่อเพิ่มความเข็งแรงให้กับชิ้นส่วนของกำแพงกันดิน อีกทั้งมีการตรวจเช็คคุณภาพสินค้าทั้งก่อน และหลัง ด้วยทีมวิศวกรที่ดูแลเรื่องคุณภาพ(Quality Control)
คุณสมบัติ
1. ทำขึ้นเพื่อต้านทานแรงดันทางด้านข้างของมวลดิน หรือ ของไหล จากระดับดินที่ต่างกัน : เพราะสำหรับพื้นที่หน้างานที่มีระดับที่แตกต่างกันนั้น จะมีโอกาสที่โครงสร้างที่อยู่ในบริเวณใกล้กับพื้นที่ที่ต่างระดับเกิดความเสียหาย หรือพังทลายได้ ซึ่งเกิดจากแรงของมวลดินที่มีการดันออกมา หรืออาจเกิดจากสภาพของดินในบริเวณนั้นยังเกาะกันไม่แน่นพอ(อาจเกิดขึ้นในกรณีที่เพิ่งถมที่ดินใหม่ๆ ดินที่เพิ่งถมนั้นจะยังไม่เกาะตัวกันดีมากนัก ทำให้ดินไม่แน่น ยากแก่การลงสิ่งปลูกสร้างต่างๆ)
2. กันดินสไลด์ตามฝั่งแม่น้ำ หรือพื้นที่ต่างระดับเพื่อลดการทรุดตัวของดิน : โดยการทำกำแพงกันดินนั้นจะช่วยป้องกันไม่ให้ดินที่อยู่ในระดับที่สูงกว่านั้นมีการสไลด์ตัว หรือทรุดตัวลงมาได้ เพราะเกิดจากการช่วยรับแรงจากแผ่นพื้นสำเร็จรูป และถ่ายเทแรงไปยังเสาเข็มไอที่ถูกปักลงไปในดิน
3. กำแพงกันดิน จะทำให้ชั้นดินที่ต่างระดับกันคงตัวอยู่ได้อย่างปลอดภัย : ซึ่งการทำกำแพงกันดินนั้นจะช่วยป้องกันทั้งโครงสร้างที่อยู่ใกล้พื้นที่ต่างระดับ และป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลังที่มีการปลูกสิ่งก่อสร้างในบริเวณภายในพื้นที่นั้นๆได้
2. กันดินสไลด์ตามฝั่งแม่น้ำ หรือพื้นที่ต่างระดับเพื่อลดการทรุดตัวของดิน : โดยการทำกำแพงกันดินนั้นจะช่วยป้องกันไม่ให้ดินที่อยู่ในระดับที่สูงกว่านั้นมีการสไลด์ตัว หรือทรุดตัวลงมาได้ เพราะเกิดจากการช่วยรับแรงจากแผ่นพื้นสำเร็จรูป และถ่ายเทแรงไปยังเสาเข็มไอที่ถูกปักลงไปในดิน
3. กำแพงกันดิน จะทำให้ชั้นดินที่ต่างระดับกันคงตัวอยู่ได้อย่างปลอดภัย : ซึ่งการทำกำแพงกันดินนั้นจะช่วยป้องกันทั้งโครงสร้างที่อยู่ใกล้พื้นที่ต่างระดับ และป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลังที่มีการปลูกสิ่งก่อสร้างในบริเวณภายในพื้นที่นั้นๆได้
หน้างานแบบไหนที่ควรทำ
1. หน้างานที่เป็นพื้นที่ต่างระดับ (เช่น ที่นา หรือพื้นที่ทั่วไปที่ถูกนำดินมาถม โดยส่วนมากจะเกิดพื้นที่ต่างระดับขึ้น เป็นต้น)
2. ที่ดิน หรืองานก่อสร้างที่ติดกับทางน้ำ (เช่น ที่ดินที่ติดกับคลองน้ำ ,เหมืองน้ำสาธารณะ ,น้ำแม่น้ำ เป็นต้น) ซึ่งมีโอกาสเกิดปัญหาดินพัง ดินไหล พื้นที่ดินถูกกัดเซาะ หรือดินทรุดรอบบ้านได้ จึงจำเป็นต้องทำกำแพงกันดินเพื่อป้องกันปัญหาเหล่านี้ไม่ให้เกิดขึ้น
3. การก่อสร้างบริเวณแนวภูเขาที่มีความลาดชัน (เช่น พื้นที่เนินที่ต้องการปรับแต่งพื้นที่ดินให้เรียบเสมอไปกับระดับน้ำให้ง่ายแก่การก่อสร้าง เป็นต้น)
2. ที่ดิน หรืองานก่อสร้างที่ติดกับทางน้ำ (เช่น ที่ดินที่ติดกับคลองน้ำ ,เหมืองน้ำสาธารณะ ,น้ำแม่น้ำ เป็นต้น) ซึ่งมีโอกาสเกิดปัญหาดินพัง ดินไหล พื้นที่ดินถูกกัดเซาะ หรือดินทรุดรอบบ้านได้ จึงจำเป็นต้องทำกำแพงกันดินเพื่อป้องกันปัญหาเหล่านี้ไม่ให้เกิดขึ้น
3. การก่อสร้างบริเวณแนวภูเขาที่มีความลาดชัน (เช่น พื้นที่เนินที่ต้องการปรับแต่งพื้นที่ดินให้เรียบเสมอไปกับระดับน้ำให้ง่ายแก่การก่อสร้าง เป็นต้น)
ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ถ้าไม่มีการติดตั้ง
1. อาจทำให้เกิดการเคลื่อนพังทลายของดิน : เนื่องจากเวลาที่มวลของดินอยู่ต่างระดับกัน ก็มักจะเกิดปัญหาที่ดินในระดับที่สูงกว่าเกิดพังลงมา ในกรณีไม่มีดิน หรือพื้นที่คอยต้านแรงค้ำด้านข้างไว้
2. เกิดปัญหาดินสไลด์ : ปัญหานี้จะยิ่งเกิดง่ายมากขึ้น ในกรณีที่เป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้ หรือติดกับทางน้ำ เพราะสภาพของดินจะมีลักษณะค่อนข้างอ่อน โดยเกิดจากการซึม และกัดเซาะของน้ำที่ไหลผ่าน ทำให้มีโอกาสเกิดปัญหาดินสไลด์ได้ง่ายกว่าพื้นที่ต่างระดับที่อยู่ห่างจากทางน้ำ
3. อาจก่อให้เกิดอันตราย และความเสียหายแก่สิ่งปลูกสร้าง : ซึ่งปัญหาทั้งดินพัง ดินไหล ดินสไลด์ พื้นที่ดินถูกกัดเซาะ หรือดินทรุดนั้น ล้วนแต่เป็นสาเหตุที่อาจจะทำให้โครงสร้างที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ต่างระดับ เกิดความเสียหายได้ เช่น ในกรณีที่ติดรั้วโดยไม่ได้ทำการติดตั้งกำแพงกันดินก่อน ก็จะมีโอกาสที่รั้วที่ติดตั้งไปเกิดการล้ม และเกิดการพังลงมาได้ เป็นต้น
2. เกิดปัญหาดินสไลด์ : ปัญหานี้จะยิ่งเกิดง่ายมากขึ้น ในกรณีที่เป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้ หรือติดกับทางน้ำ เพราะสภาพของดินจะมีลักษณะค่อนข้างอ่อน โดยเกิดจากการซึม และกัดเซาะของน้ำที่ไหลผ่าน ทำให้มีโอกาสเกิดปัญหาดินสไลด์ได้ง่ายกว่าพื้นที่ต่างระดับที่อยู่ห่างจากทางน้ำ
3. อาจก่อให้เกิดอันตราย และความเสียหายแก่สิ่งปลูกสร้าง : ซึ่งปัญหาทั้งดินพัง ดินไหล ดินสไลด์ พื้นที่ดินถูกกัดเซาะ หรือดินทรุดนั้น ล้วนแต่เป็นสาเหตุที่อาจจะทำให้โครงสร้างที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ต่างระดับ เกิดความเสียหายได้ เช่น ในกรณีที่ติดรั้วโดยไม่ได้ทำการติดตั้งกำแพงกันดินก่อน ก็จะมีโอกาสที่รั้วที่ติดตั้งไปเกิดการล้ม และเกิดการพังลงมาได้ เป็นต้น
วิธีการติดตั้ง
1. เข้าไปตรวจเช็คสภาพพื้นที่งาน : ทีมช่าง หรือทีมวิศวกร เข้าไปตัวสอบสภาพพื้นที่หน้างาน เพื่อตรวจเช็คว่าหน้างานนั้นๆจำเป็นต้องทำกำแพงกันดินหรือไม่
2. เก็บรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นในการติดตั้งกำแพงกันดิน : เมื่อทีมทำไปทำการตรวจสอบพบว่า พื้นที่หน้างานเป็นพื้นที่ต่างระดับที่ค่อนข้างสูง หรืออยู่ใกล้ทางน้ำ ก็จะตรวจสอบต่อว่าพื้นที่ต่างระดับของที่ดินมีความสูงเท่าไหร่ อยู่ห่างจากทางน้ำหรือไม่ สภาพดินของพื้นที่หน้างานมีความแข็งเกาะตัวกันแน่นแล้ว หรือยังอ่อนอยู่( เช่น เป็นดินที่เพิ่งถมได้ไม่นาน เป็นต้น) โดยส่วนมากก็จะตรวจสอบข้อมูลหลักๆสามอย่างนี้
3. คำนวณขนาด และความยาวของชิ้นส่วน : นำข้อมูลที่เก็บได้ทั้งความสูงของพื้นที่ต่างระดับ ตำเหน่งที่ตั้ง และสภาพของดิน มาใช้เพื่อคำนวณขนาด(ส่วนมากจะใช้เสาเข็มไอขนาด 22*22 ซม.) และความสูงของเสาไอที่จะใช้ตอกทำกำแพงกันดิน และความยาวช่วงที่จะใช้ในการตอกเสาเข็มไอ(ส่วนมากจะเว้นระยะห่างกัน 2 เมตร) เพื่อจะมาคำนวณต่อว่าจะต้องใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูป หรือแผ่นกันดินสำเร็จรูปความยาวเท่าไหร่มาใช้เสียบ
4. คำนวณความยาวของเสาเข็มไอ : โดยส่วนมากแล้วความยาวเสาไอที่จะนำมาทำกำแพงกันดินนั้นจะต้องมีความยาวจมลงไปในดินยาวเฉลี่ยเป็น 2-3 เท่า ของความสูงที่จะกันดินด้านบน เช่น ต้องการจะทำกันดินสูงจากพื้น 1 เมตร ก็อาจจะจำเป็นต้องสั่งเสาไอที่ขนาดความยาว 3-4 เมตรเป็นต้น(แล้วแต่สภาพของดินหน้างาน)
5. คำนวณขนาดของเสาเข็มไอ :สำหรับขนาดของเสาเข็มไอ โดยส่วนมากจะใช้ขนาด 22*22 ซม. แต่ถ้าต้องการจะกันดินสูงมากกว่า 2 เมตรขึ้นไป จะแนะนำให้ใช้เสาเข็มไอขนาด 26*26 ซม. แทน และอาจจะลดระยะห่างระหว่างเสาเข็มไอที่ตอก
6. เตรียมผลิตชิ้นส่วน และจัดส่ง : หลังจากทราบขนาด ความยาวของเสาเข็มไอที่จะใช้ตอก และความยาวของผนังแผ่นเสียบที่จะมาใช้กันดินแล้ว ก็จะสั่งให้โรงงานคอนกรีตผลิต และเตรียมจัดส่ง
7. นำชิ้นส่วนต่างๆติดตั้ง : เมื่อถึงวันติดตั้งสินค้าถูกจัดส่งถึงหน้างาน รถตอกเสาเข็มเตรียมพื้นที่ พร้อมตอกเสาเข็มไอลงไปในดิน หลังจากตอกเสาเข็มไอเสร็จ ก็จะนำแผ่นพื้น หรือแผ่นกันดินสำเร็จเสียบลงไปตามร่องด้านข้างของเสาเข็มไอ และสุดท้ายหล่อคานด้านบนเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับโครงสร้างกำแพงกันดิน
8. ถมดินให้เต็มช่องว่างที่ได้เว้นไว้ก่อนติดตั้ง : ขั้นตอนสุดท้ายอาจทำการถมดินให้เต็มพื้นที่มาจนถึงตำแหน่งที่ได้ทำกำแพงกันดินไว้
***สำหรับพื้นที่ที่จะทำกันดินค่อนข้างสูง หรืออยู่ค่อนข้างติดกับทางน้ำ อาจจำเป็นต้องทำการดึงสเตย์เพิ่มเติม เพื่อเป็นตัวช่วยรับแรงต้านของมวลดินที่กระทำกับกำแพงกันดิน และโครงสร้างด้านบน ไม่ให้พังทลายได้
2. เก็บรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นในการติดตั้งกำแพงกันดิน : เมื่อทีมทำไปทำการตรวจสอบพบว่า พื้นที่หน้างานเป็นพื้นที่ต่างระดับที่ค่อนข้างสูง หรืออยู่ใกล้ทางน้ำ ก็จะตรวจสอบต่อว่าพื้นที่ต่างระดับของที่ดินมีความสูงเท่าไหร่ อยู่ห่างจากทางน้ำหรือไม่ สภาพดินของพื้นที่หน้างานมีความแข็งเกาะตัวกันแน่นแล้ว หรือยังอ่อนอยู่( เช่น เป็นดินที่เพิ่งถมได้ไม่นาน เป็นต้น) โดยส่วนมากก็จะตรวจสอบข้อมูลหลักๆสามอย่างนี้
3. คำนวณขนาด และความยาวของชิ้นส่วน : นำข้อมูลที่เก็บได้ทั้งความสูงของพื้นที่ต่างระดับ ตำเหน่งที่ตั้ง และสภาพของดิน มาใช้เพื่อคำนวณขนาด(ส่วนมากจะใช้เสาเข็มไอขนาด 22*22 ซม.) และความสูงของเสาไอที่จะใช้ตอกทำกำแพงกันดิน และความยาวช่วงที่จะใช้ในการตอกเสาเข็มไอ(ส่วนมากจะเว้นระยะห่างกัน 2 เมตร) เพื่อจะมาคำนวณต่อว่าจะต้องใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูป หรือแผ่นกันดินสำเร็จรูปความยาวเท่าไหร่มาใช้เสียบ
4. คำนวณความยาวของเสาเข็มไอ : โดยส่วนมากแล้วความยาวเสาไอที่จะนำมาทำกำแพงกันดินนั้นจะต้องมีความยาวจมลงไปในดินยาวเฉลี่ยเป็น 2-3 เท่า ของความสูงที่จะกันดินด้านบน เช่น ต้องการจะทำกันดินสูงจากพื้น 1 เมตร ก็อาจจะจำเป็นต้องสั่งเสาไอที่ขนาดความยาว 3-4 เมตรเป็นต้น(แล้วแต่สภาพของดินหน้างาน)
5. คำนวณขนาดของเสาเข็มไอ :สำหรับขนาดของเสาเข็มไอ โดยส่วนมากจะใช้ขนาด 22*22 ซม. แต่ถ้าต้องการจะกันดินสูงมากกว่า 2 เมตรขึ้นไป จะแนะนำให้ใช้เสาเข็มไอขนาด 26*26 ซม. แทน และอาจจะลดระยะห่างระหว่างเสาเข็มไอที่ตอก
6. เตรียมผลิตชิ้นส่วน และจัดส่ง : หลังจากทราบขนาด ความยาวของเสาเข็มไอที่จะใช้ตอก และความยาวของผนังแผ่นเสียบที่จะมาใช้กันดินแล้ว ก็จะสั่งให้โรงงานคอนกรีตผลิต และเตรียมจัดส่ง
7. นำชิ้นส่วนต่างๆติดตั้ง : เมื่อถึงวันติดตั้งสินค้าถูกจัดส่งถึงหน้างาน รถตอกเสาเข็มเตรียมพื้นที่ พร้อมตอกเสาเข็มไอลงไปในดิน หลังจากตอกเสาเข็มไอเสร็จ ก็จะนำแผ่นพื้น หรือแผ่นกันดินสำเร็จเสียบลงไปตามร่องด้านข้างของเสาเข็มไอ และสุดท้ายหล่อคานด้านบนเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับโครงสร้างกำแพงกันดิน
8. ถมดินให้เต็มช่องว่างที่ได้เว้นไว้ก่อนติดตั้ง : ขั้นตอนสุดท้ายอาจทำการถมดินให้เต็มพื้นที่มาจนถึงตำแหน่งที่ได้ทำกำแพงกันดินไว้
***สำหรับพื้นที่ที่จะทำกันดินค่อนข้างสูง หรืออยู่ค่อนข้างติดกับทางน้ำ อาจจำเป็นต้องทำการดึงสเตย์เพิ่มเติม เพื่อเป็นตัวช่วยรับแรงต้านของมวลดินที่กระทำกับกำแพงกันดิน และโครงสร้างด้านบน ไม่ให้พังทลายได้
สินค้าแนะนำ
สามารถนำไปติดตั้งได้อย่างรวดเร็ว มีความคงทนแข็งแรงเพราะใช้ลวด PC Wire ในการเสริมแรงและให้ความสวยงามได้โดยที่ไม่ต้องตกแต่งเพิ่มเติม ติดตั้งได้รวดเร็วจึงสามารถลดต้นทุนค่าแรงและเวลาไปได้มาก
สามารถมั่นใจในคุณภาพด้วยมาตรฐาน มอก.เลขที่ 828-2546 และด้วยกำลังการผลิต แผ่นพื้นสำเร็จรูป เฉลี่ย 600 ตร.ม./วัน พร้อมทั้งทีมช่างผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยวางแผน คำนวณจำนวนที่ต้องใช้ติดตั้งจากพื้นที่จริง
มั่นใจด้วยสินค้าที่ได้มาตรฐาน มอก.เลขที่ 396-2549 และมีทีมวิศวกรคอยให้คำปรึกษาตั้งแต่การวางแผน ขนาดและจำนวนที่จะต้องใช้ , คำนวน Blow Count ตามสภาพดินในพื้นที่จริง พร้อมบริการจัดส่ง และจัดหารถตอกเสาเข็ม